วันนี้เภสัชมาเล่าเรื่อง 3 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับชุดตรวจ ATK ที่พบบ่อยในร้านยา
1. ชุดตรวจแบบที่มีไม้แบบแยงจมูกก็เอามากวาดในปากได้ อันนี้เข้าใจผิดกันไปมากค่ะ ถ้าชุดตรวจนั้นไม่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนว่าให้ใช้โดยวิธีกวาดในช่องปากได้ (saliva swab) อย่าเอาไม้แยงจมูกมา กวาดปากเองค่ะ เพราะไม่มีmethod validationว่า ชุดตรวจชุดนี้เมื่อเอามาทำแบบกวาดน้ำลายแล้วความไวและความแม่นยำเป็นอย่างไร มีถุงบ้วนให้ก็ใช้ถุงบ้วนนะคะ เอาไม้สำหรับแยงจมูกมากวาดในปากไม่ได้ อยากกวาดให้หาชุดตรวจแบบกวาดได้ค่ะ
#หากอยากรู้ว่าชุดตรวจดังกล่าวเอาไม้มากวาดปากได้ไหมให้อ่านรายละเอียดในกล่องค่ะถ้าไม่มีระบุในวิธีใช้คือทำไม่ได้นะคะ
2. ชุดตรวจแบบอมแถบตรวจสามารถให้เด็กๆนำมาอมในปากได้เลยสะดวกดี อันนี้ก็เข้าใจผิดเช่นกันค่ะ ต้องอ่านวิธีตรวจในกล่องนะคะว่าจริงๆแล้วชุดตรวจดังกล่าวอนุมัติให้อมได้จริงหรือไม่ เพราะแถบตรวจเคลือบด้วยสารเคมีต่างๆเพื่อให้สารละลายวิ่งขึ้นไปเจอกับแถบค่ะ ดังนั้นการนำแถบตรวจมาอมอันตรายค่ะ ซึ่งชุดตรวจที่บอกว่าอมได้จริงๆเป็นชุดตรวจที่ต้องนำแถบตรวจมาจุ่มในน้ำลายค่ะ
3. ทำไมใช้ ATK ยี่ห้อเดียวกันบริษัทเดียวกัน ตรวจรอบแรกขึ้น2ขีด รอบสองไม่ขึ้น ขึ้นกับหลายๆปัจจัยค่ะ ที่เภสัชเจอหน้าร้านบ่อยๆมี2เรื่อง - ชุดตรวจแบบบ้วนน้ำลาย มีโอกาสเจอผลบวกลวงสูง (false positive) จากอาหารที่กินเข้าไป เช่นน้ำอัดลม สเปรย์พ่นคอ ลิปสติก วาสลีนทาปากเป็นต้น ดังนั้นหากตรวจบ้วนน้ำลายรอบแรกขึ้น2ขีดโดยที่ตัวเองไม่มีอาการ เภสัชแนะนำให้ตรวจซ้ำค่ะ - เทคนิคการตรวจ แยงรอบแรกคว้านลึกเลยเจอ2ขีด พอรอบสองเริ่มเจ็บคว้านตื้นๆ รอบสองเลยไม่พบเชื้อค่ะ
วันนี้เอาสัก3ข้อแบบอ่านสั้นๆนะคะ
สุดท้ายฝากไว้ว่า #ซื้อATKอย่าพุ่งเป้าที่ราคาถูกอย่างเดียวATKแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกันค่ะ ทั้งความไวและความแม่นยำ บอกตรงๆว่าสำหรับของที่ร้าน ถ้าทุนมาถูกมากๆก็ไม่กล้าซื้อมาขายเช่นกัน เคยเจอลูกค้าบอกว่าขอถูกที่สุด เพราะต้องตรวจเข้าทำงานตรวจเป็นพิธีก็พอ.....ก็มีเหวอๆไปเหมือนกัน
#ไหนๆก็เสียเวลาตรวจแล้วตรวจตัวดีๆเหอะรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมเพื่อนร่วมงานนะคะ #แสงทองเภสัชหาดใหญ่