top of page

CoenzymeQ10 และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ มีประโยชน์อย่างไร

อัปเดตเมื่อ 23 พ.ค. 2566

CoenzymeQ10 และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ มีประโยชน์อย่างไร ใครสนใจอยากจะกินQ10 มามุงได้เลยคร่าาา จากตอนที่แล้ว เราทราบแล้วว่า ROS เป็นสารอนุมูลอิสระ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด Photoaging ซึ่งสาร"ต้าน"อนุมูลอิสระมีมากมาย ที่รู้จักกันดีเช่น Ascorbic acid (Vitamin C), Alpha-tocopherol (Vitamin E), Selenium, Yeast, สารสกัดจากเปลือกสน (Pine Bark Extract), Coenzyme Q10 และสารตระกูลFlavonol จากกลุ่มผลไม้รสเปรี้ยว (Citrus) ทั้งหลาย เป็นต้น บทความวันนี้จะกล่าวถึง Coenzyme Q10 ค่ะ


CoenzymeQ10 เป็นสารอาหารที่มนุษย์และสัตว์สังเคราะห์เองได้ในร่างกาย โดยมีวิตามินบี6 เป็นตัวช่วย เราจึงพบ Q10 เยอะในเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเหลือง ไข่ ผัก ผลไม้ และน้ำมันคาโนล่า Q10 เป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมัน พบได้ทั่วไปที่ผนังเซลล์ของมนุษย์และสัตว์ ดังนั้น ถ้าจะกินQ10 ให้ได้การดูดซึมที่ดี ***ควรกินQ10พร้อมอาหารนะคะ


หน้าที่หลักของQ10 คือ 1. Q10 เป็นตัวเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต และไขมัน เป็นพลังงาน ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ Q10 ในการทำงาน 2. Q10 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญที่ผนังเซลล์ ซึ่งเป็นบริเวณหลักๆของการเกิด photoaging และQ10ยังช่วยลดการเกิด Lipid peroxidation โดย ไขมันตัวร้าย (LDL cholesterol) ที่หลอดเลือด

ในผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่ม statin จะทำให้ระดับ Q10ในร่างกายลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยบางคนที่ได้รับ Q10จากอาหารไม่เพียงพอมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น ปวดน่อง ได้ ดังนั้น อาจพิจารณาเสริมQ10 30 mg ในผู้ป่วยกลุ่มนี้

Q10 ช่วยแก้ปัญหา Photoaging โดย...


CoenzymeQ10 สามารถยับยั้งเอนไซม์ MMP-1 ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย collagen ผ่านการยับยั้งการสร้าง cytokines ได้ (ดูภาพประกอบ) และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ในการต่อต้าน ROS อีกด้วย


นอกจาก Q10จะมีประโยชน์กับผิวแล้ว Q10ยังมีประโยชน์ในเรื่องอื่นๆด้วย เช่น ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยหัวใจ เบาหวาน ความดัน และผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเหล่านี้ inboxได้นะคะ

ปกติ Q10 จะถูกกำจัดออกโดยใช้น้ำดี เหมือนไขมันทั่วๆไป และในร่างกายของเรามีQ10สะสมอยู่แล้วประมาณ 0.5-1.5 กรัม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่า Q10 จะพร่องไปได้ในคนที่ขาดวิตามินบี6, ผู้สูงอายุ, ภาวะเจ็บป่วยด้วยบางโรค และการกินยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มลดไขมันในเลือด

ผู้ป่วยที่ควรระวังในการใช้Q10 คือ ผู้ป่วยที่รับประทานยาWarfarin เพราะมีผลต่อระดับยาในเลือด หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาในคนกลุ่มนี้

ปริมาณ Q10 ที่เหมาะสมคือ 60-200 mg/ วัน (จากอาหาร+supplement)


ผลข้างเคียงของการได้รับQ10 คือ คลื่นไส้อาเจียน ไม่อยากรับประทานอาหาร แสบร้อนกลางอก ไม่สบายท้อง ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ ให้ปรับขนาด Q10 แบ่งทานเป็น 2-3 ครั้งต่อวันก็จะช่วยลดผลข้างเคียงได้ค่ะ


กลไกPhotoaging มีความซับซ้อน การใช้ CoenzymeQ10 อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการแก้ปัญหา สำหรับสารอาหารตัวอื่นๆผิ่นจะนำมากล่าวในบทความถัดๆไปค่ะ

เอกสารอ้างอิง 1.A.Kammeyer,R.M.Luiten/AgeingResearchReviews21(2015)16–2925Fig.9 2.Mukherjee, Pulok K., et al. "Bioactive compounds from natural resources against skin aging." Phytomedicine: International Journal of Phytotherapy & Phytopharmacology, vol. 19, no. 1, 2011, p. 64+. Academic OneFile, Accessed 24 Sept. 2017. 3. ความแก่ของผิวหนัง: กลไกการเกิดระดับโมเลกุล การป้องกัน/การรักษา และสารธรรมชาติที่ใช้ในการต่อต้านความแก่ของผิวหนัง, ธรรมนูญ รุ่งสังข์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, ธันวาคม 2559


 
 

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
การใช้ยาละลายเสมหะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ

#ทำไมไม่ควรซื้อยาละลายเสมหะในอินเตอร์เน็ตกินเอง โดยเฉพาะกรณีเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า2ขวบ หน้าฝน หน้าหนาวมาแล้ว...มีลูกค้าหลายรายมาหายาละลายเ...

 
 

หัวข้อสนทนาที่น่าสนใจ

bottom of page