Zinc หรือสังกะสี มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร
- ร้านแสงทองเภสัช
- 11 เม.ย. 2563
- ยาว 1 นาที
วันก่อนเภสัชเล่าเรื่องวิตามินซีต่อระบบภูมิคุ้มกันแล้ว คู่กับวิตามินซี ก็คือสังกะสีนี่ล่ะค่ะ มีfwd ไลน์ที่คนไข้หน้าร้านถือมาถามเภสัชเพียบเลย ว่าใช่ไหม จริงไหม จะได้ซื้อสังกะสีมากิน...มาค่ะ เภสัชจะเล่าดังนี้...ยาวหน่อย มีทับศัพท์เยอะหน่อยนะคะ
****ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า งานวิจัยส่วนใหญ่ที่ออกมาเรื่องสังกะสีจะช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีอยู่มากมาย แต่เรียกได้ว่า เกือบทั้งหมดทำในคนไข้ที่ขาดสังกะสีแล้วมีผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันค่ะ ส่วนงานวิจัยที่บอกว่าในคนที่มีสังกะสีพออยู่แล้วมากินเสริม ระบบภูมิคุ้มกันจะดีขึ้นนั้น งานวิจัยตรงนี้ยังไม่ชัดเจน...ต้องเข้าใจตรงกันตามนี้ก่อนนะคะ...ใครอ่านถึงตรงนี้ไม่เข้าใจให้ย้อนกลับไปอ่านย่อหน้านี้ใหม่ค่ะ****
สังกะสีเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีงานวิจัยยืนยันมาหลายทศวรรษ โดยเป็นที่ชัดเจนว่า มีผลตั้งแต่ระดับของผิวหนัง (barrier of the skin) จนถึงระดับยีนส์ภายในเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันเลยทีเดียว
สังกะสีมีผลสำคัญต่อการทำงานของ cells mediating non specific immunity เช่น neutrophils และ natural killer cells

การขาดสังกะสีมีผลต่อ - การพัฒนาของ T-lymphocytes, Th1 cytokine production และ B lyphocyte help - B lymphocyte development และ antibodyproduction - Macrophage ก็ได้รับผลกระทบจากการขาดสังกะสีเช่นกัน คือ dysregulate intracellular killing, การผลิต cytokine, และมีผลต่อการไปจับกินเชื้อโรคโดยวิธี phagocytosis - ส่งผลต่อระดับเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน คือ DNA replication, RNA transcription, cell division และ cell activation
สังกะสี ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และทำให้ผนังเซลล์มีความคงตัว เชื้อโรคจึงเข้าได้ยาก นอกจากสังกะสีจะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยให้แผลหายเร็วและช่วยเรื่องการเจริญเติบโตด้วย
***หากเราได้รับสังกะสีจากอาหารเพียงพออยู่แล้ว มีหลักฐานว่า การเสริมสังกะสีก็ไม่ได้ช่วยอะไร***
-ผู้ที่มีแนวโน้มจะขาดสังกะสีและควรกินเสริม ได้แก่ ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติแบบเข้มงวด ผู้ที่ติดเหล้า และคนที่กินอาหารไม่ครบ5หมู่ รวมทั้งคนที่มีปัญหาด้านระบบการย่อยอาหาร เช่นโรค Chron's disease
ความต้องการสังกะสีต่อวัน(The recommended dietary allowance: RDA) เด็ก 4-8 ปี 5 มก/ว 9-13 ปี 8 มก/ว ผู้หญิง 14-18 ปี 9 มก/ว 19+ ปี 8 มก/ว ผู้ชาย 14+ ปี 11 มก/ว
ปริมาณมากที่สุดที่ได้รับแล้วยังปลอดภัย (The tolerable upper intake level: UL) *อย่าลืมนับจากสังกะสีในอาหารด้วยนะจ๊ะ เด็ก 4-8 ปี 12 มก/ว 9-13 ปี 23 มก/ว ผู้ใหญ่ 14-18 ปี 34 มก/ว 19+ ปี 40 มก/ว
เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แนะนำให้กินสังกะสีหลังอาหารนะคะ
บางคนไม่ชอบกินเสริม แต่อยากได้สังกะสีให้พอ อาหารทีมีสังกะสีเยอะ คือ เนื้อแดง ไข่ นม หอยนางรม ซีเรียลที่มีการเติมแร่ธาตุ ธัญพืชและถั่วต่างๆ
ผลข้างเคียงของสังกะสี หรือถ้ากินมากเกินไปจะไปลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน มีไข้ อาเจียน ไอ ระดับคลอเลสเตอรอลเปลี่ยนแปลงไป
ผลต่อยาอื่นๆ สังกะสีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีผลต่อประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดกิน ยาฆ่าเชื้อบางชนิด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ทองแดงและเหล็ก
ถ้าเราเป็นคนปกติดี แต่ไม่แน่ใจว่าเราขาดสังกะสีหรือไม่ เภสัชแนะนำให้กินจากอาหารก่อนค่ะ แต่ถ้าเรากินอาหารที่มีสังกะสีน้อย จะกินเสริม ก็ไม่จำเป็นต้องกินทุกวันนะคะ อาจจะกินวันเว้นวันก็ได้ สำหรับความชุกของการขาดสังกะสี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ34-73% ตามสำรวจของ WHO และของทั่วโลกคือ 31% ค่ะ
ใครสนใจอยากอ่านต่อไปตามได้ที่เอกสารอ้างอิงตามนี้นะคะ 1. Am J Clin Nutr. 1998 Aug;68(2 Suppl):447S-463S 2. https://www.webmd.com/vitamins.../supplement-guide-zinc... 3. mm.ox.ac.uk/about/news/zinc-in-immune-function 4.https://www.who.int/pub.../cra/chapters/volume1/0257-0280.pdf
อ้างอิงรูปจาก Complementary effects of vitamin C and zinc on the cellular immune system in haematopoiesis 12,36,152 – 154