วันนี้แอดมินขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำมันตัวใหม่ คือKrill oil หรือ น้ำมันคริลล์ ที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางว่าช่วยลดไขมันในเลือด ชะลอวัย ลดอาการก่อนมีประจำเดือน ปรับอารมณ์ ลดอาการปวดข้อ ลดสิว ป้องกันอัลไซเมอร์ และสมาธิสั้น มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ว่าเป็นจริงอย่างที่ร่ำลือไหม
![](https://static.wixstatic.com/media/8cf488_dbd217dd0ff64b78b5da0ff8734c5558~mv2.png/v1/fill/w_720,h_720,al_c,q_90,enc_auto/8cf488_dbd217dd0ff64b78b5da0ff8734c5558~mv2.png)
Krill เป็นสัตว์น้ำตัวเล็กๆจำพวกกุ้ง ตัวยาวประมาณ 6 ซม อาศัยอยู่ในแถบทะเลน้ำลึก ในภาษานอร์เวย์ คำว่าคริลล์ หมายถึงอาหารของปลาวาฬ Krill oil จึงเป็นน้ำมันที่สกัดได้จากสัตว์ตัวเล็กๆที่เรียกว่า Krill นั่นเอง
ดังนั้น น้ำมันนี้จึงมีสารอาหารประเภทของกรดไขมัน EPA, DHA สูง เนื่องจากKrill กินอาหารคือ แพลงก์ตอน สาหร่ายในทะเลนั่นเอง
มีเพียงรายงานสรุปการศึกษางาน 7 งานวิจัยในผู้ป่วย 662 ราย (Systematic-review and Meta-Analysis) ที่บอกว่า น้ำมันคริลล์สามารถลด ไขมันตัวร้าย (LDL-cholesterol), ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มไขมันตัวดี (HDL-cholesterol) ได้แตกต่างจริงๆ เนื่องจากน้ำมันคริลล์มีกรดไขมันEPA, DHA เช่นเดียวกับน้ำมันปลา ซึ่งกรดไขมันนี้ จะช่วยลดอาการบวม, ลดคลอเลสเตอรอล ลดการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด จึงทำให้ลดการอุดตันของหลอดเลือด
ขณะที่ยังไม่มีงานวิจัยในระดับที่เชื่อถือได้ในข้อบ่งใช้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดอาการก่อนมีประจำเดือน ชะลอวัย ลดสิว ริ้วรอย ลดอาการปวดข้อ (งานวิจัยพวกนี้ยังทำในสัตว์ทดลอง หรือคนกลุ่มเล็กๆ เช่น 16 คน และยังไม่มีการทำวิจัยซ้ำ จึงไม่สามารถบอกได้ว่าน้ำมันคริลล์มีส่วนช่วยเรื่องนี้)
อย่างไรก็ตาม น้ำมันคริลล์มีข้อห้ามใช้และข้อควรระวังในหลายเรื่องด้วยกัน แอดมินจะนำมาเสนอต่อในโพสต์ถัดไปนะคะ
อย่าลืมกดติดตามpage แสงทองเภสัช Saengthong HatyaiPharmacyไว้ด้วยค่า
ใครสนใจงานวิจัยด้านบนตามอ่านต่อได้ใน Journal Nutrition Reveiw 2017;7s(5): 361-373. Lipid-modifying effects of krill oil in humans. Systematic review and Meta-analysis of randomized controlled trial.