top of page

ผื่นแพ้ยาชนิดขึ้นที่ประจำ Fixed Drug Eruption

คนไข้ประจำของร้านท่านหนึ่ง แวะมาหาเภสัชที่ร้าน พร้อมให้ดูปื้นแดงที่ขา บอกว่าไม่รู้ไปโดนอะไรมา เมื่อเภสัชถามถึงยาที่กิน คนไข้แจ้งว่า กินยาลดการอักเสบปวดกล้ามเนื้อมาก่อน โดยที่มียานี้อยู่แล้วภายในบ้าน(ซึ่งเป็นของคนในครอบครัว) เมื่อมีอาการปวดเมื่อย จึงนำมากินเลย....คนไข้เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยเป็นมาก่อนแล้ว ตอนกินยาตัวนี้ โดยปื้นแดงๆเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดิม เราเรียกผื่นชนิดนี้ว่า

#ผื่นแพ้ยาชนิดขึ้นที่ประจำ หรือ Fixed Drug Eruption

#ผื่นแพ้ยาแบบนี้คืออะไร

- ผื่นแพ้ยาชนิดขึ้นที่ประจำ จัดเป็นผื่นแพ้ยาชนิดไม่รุนแรง ลักษณะผื่นรูปร่างกลม หรือรี ขอบชัดเจน ระยะแรกสีแดงจัด ต่อมากลางผื่นเป็นสีดำคล้ำ หรือออกม่วง ถ้าแพ้มากตรงกลางผื่นอาจพองเป็นตุ่มน้ำ และมีอาการแสบคัน แต่ไม่มีการอักเสบของเยื่อบุ และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ ดังนั้น จึงไม่มีอัตราการเสียชีวิตในคนไข้ที่แพ้ยาลักษณะนี้

- พบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยา กลุ่ม NSAIDS (ยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ), ยาปฎิชีวนะ Tetracyclines หรือยาที่ผู้หญิงชอบซื้อหามากินกันเองที่เรียกกันว่ายามดลูกอักเสบ, ยาแก้คัดจมูกหูอื้อ Pseudoephedrine, ยาในกลุ่ม sulfonamides และ ยากลุ่ม Sulfamethoxazole Trimethoprim (TMP-SMX)

- ลักษณะเด่นของผื่นแพ้ยาชนิดนี้คือ ครั้งแรกที่ได้รับยา จะเกิดผื่นหลังรับยาไปแล้ว1-2 อาทิตย์ แต่เมื่อได้รับยาตัวเดิมครั้งถัดไป ผื่นจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดิมและเกิดเร็วขึ้นกว่าเดิม คือเกิดผื่นภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังได้รับยาที่เคยแพ้

#วิธีปฏิบัติตัวหากมีผื่นแพ้ยาชนิดนี้

1. หยุดยาที่กินทันที

2. หากเป็นไม่มาก ผื่นจะค่อยๆจางหายไปเอง, หากเป็นมาก คนไข้มีอาการคันหรือแสบแดง ให้ทายาสเตียรอยด์ตัวอ่อนร่วมกับการกินยาแก้แพ้

3. หากมีตุ่มน้ำกลางผื่น ไม่ควรเจาะตุ่มน้ำ แต่ถ้าตุ่มน้ำแตก ให้ทายาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อ

4. หากไม่มีแผลที่ผื่น สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ และใช้ผ้าสะอาดซับน้ำที่ผื่นออกเบาๆ

5. หากผื่นลุกลาม เจ็บบริเวณที่เป็นมากขึ้นให้ไปพบแพทย์

6. อย่าลืม แจ้งแพทย์และเภสัชกร เพื่อบันทึกประวัติการแพ้ยาลงในระบบ และบัตรแพ้ยาประจำตัวด้วยค่ะ

ขออนุญาตลงรูปจากผู้ป่วยแล้วค่ะ

#แสงทองเภสัชหาดใหญ่

อ้างอิง

1. Drug Eruption คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี https://www.rama.mahidol.ac.th/.../Drug%20eruption%2023....

2. แนวทางการวินิจฉัยผู้ป่วยแพ้ยา พญ.ทิชา ลิ้มสุวรรณ https://www.rama.mahidol.ac.th/.../Patients%20with%20drug...

3. ผื่นแพ้ยาชนิดขึ้นที่ประจำ (Fixed Drug Eruption) โดย พญ. ธนัฐนุช วงศ์ชินศรี https://haamor.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99...

4. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข https://dmsic.moph.go.th/index/detail/4651



โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด

การใช้ยาละลายเสมหะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ

#ทำไมไม่ควรซื้อยาละลายเสมหะในอินเตอร์เน็ตกินเอง โดยเฉพาะกรณีเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า2ขวบ หน้าฝน หน้าหนาวมาแล้ว...มีลูกค้าหลายรายมาหายาละลายเ...

หัวข้อสนทนาที่น่าสนใจ

bottom of page