หลายครั้งเภสัชมักจะบอกคนไข้ กลับไปถามคนที่จ่ายยามาว่ายาในซองเม็ดๆคือยาชื่ออะไร และหลายๆครั้งคนไข้ก็ปฏิเสธที่จะถามด้วยหลายๆเหตุผล และอีกหลายๆครั้งที่ผู้ให้บริการทางสาธารณสุขเองกลับไม่ยอมบอกคนไข้ว่ายาที่ให้ชื่ออะไร ทั้งที่จริงๆแล้วเป็น #สิทธิผู้ป่วยที่จะทราบถึงยาที่กินและโรคที่เป็น . ประโยชน์จากการทราบชื่อยาว่า เรากำลังกินยาอะไรอยูู่ เนื่องจากยาไม่ใช่ขนม นอกจากยาทุกตัวจะมีผลข้างเคียงแล้ว อาการแพ้ยาอาจจะถึงกับชีวิตได้ . จากข่าววันนี้ คนไข้หญิง ไปพบแพทย์ที่คลินิคด้วยอาการปวดเมื่อยและมีไข้ หลังจากรับยารอบที่2 เริ่มมีตุ่มขึ้นตามตัว และใบหน้า ผิวลอก และมีอาการอื่นๆแทรกซ้อนอื่นๆตามมาจนตาเกือบบอด คนไข้แจ้งในข่าวว่า ยาที่ได้รับมาเป็นยารักษาโรคเก๊าท์.....และไม่ได้บอกชื่อยาที่ได้รับ . จากอาการแพ้ยา และข้อบ่งใช้ของยา เภสัชสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นยา Allopurinol ซึ่งเป็นยาลดกรดยูริค ปกติคนไข้ที่จะได้รับยาตัวนี้ แพทย์จะทำการตรวจเลือดก่อนเริ่มให้ยาเสมอว่ามีความเสี่ยงในการแพ้ยาหรือไม่ (ปกติเภสัชไม่กล้าเริ่มยาตัวนี้ให้คนไข้เองในร้านยาเลย) เนื่องจากมีข้อมูลการแพ้ยาแบบรุนแรง (SJS-TEN) ในคนไทย ที่มีในฐานข้อมูลจากอย. พบผู้ป่วยที่แพ้ยาแบบรุนแรง สูงถึง10,492 ราย ตั้งแต่ปี2527-2554...ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตและทุพลภาพสูงมาก โดยเฉพาะกับยาallopurinol #การแพ้ยาแบบSJS_TENคืออะไร Steven-Johnson sundrome (SJS), Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) มักเกิดภายหลังได้รับยา 1-3 อาทิตย์ อาการแพ้ยาคือ มีผื่นพุพอง ที่ใบหน้าและลำตัว ผิวหนังกำพร้าตายและหลุดลอก หากเป็น TEN จะหลุดลอก10-30% คนไข้จะมีไข้สูง มีการหลุดลอกของเยื่อเมือกที่ทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ เยื่อบุตาอักเสบ มีการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง มีภาวะไตวาย และเม็ดเลือดขาวต่ำ คนไข้อาจเสียชีวิตได้ . #ยาที่เกิดการแพ้แบบSJS_TENได้แก่ยาอะไรบ้าง ตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาในฉลากและที่เอกสารกำกับยาของ ยา 8 กลุ่ม 19 รายการ เรื่องการแพ้ยาชนิดรุนแรง ได้แก่ยาต่อไปนี้ 1. ยารักษาโรคเก้าท์ ได้แก่ allopurinol 2. ยากันชักได้แก่ carbamazepine, phenobarbital, phenytoin และ lamotrigine 3. ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ได้แก่ ibuprofen, meloxicam, piroxicam และ tenoxicam 4. ยาต้านไวรัส HIV กลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor ได้แก่ nevirapine containing products 5. ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ ได้แก่ co-trimoxazole, sulfadiazine, sulfadoxine, sulfafurazole, sulfamethoxazol และ sulfasalazine 6. ยากลุ่ม เพนนิซิลิน ได้แก่ amoxicillin 7. รักษาวัณโรค ได้แก่ rifampicin 8. Dapsone . #หากเรากินยาดังกล่าวอยู่จะต้องทำอย่างไร หากเรากินยากลุ่มต่อไปนี้ได้ โดยไม่มีอาการผิดปกติ แปลว่าเราไม่ได้แพ้ยาค่ะ ไม่ต้องหยุดยา ใช้ชีวิตต่อไปกินยาต่อไปตามปกติ . #เราจะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้กับตัวเราและครอบครัวได้อย่างไร
1. ต้องจำชื่อยาที่ตัวเองแพ้ และพกชื่อยาที่แพ้ติดตัวตลอดเวลา
2. หากพบแพทย์ หรือเภสัชกร ขอให้แจ้งชื่อยาที่แพ้ทุกครั้ง และหากได้รับยาที่ไม่อยู่ในแผง/ไม่มีชื่อยาระบุบนซองยา อย่าลังเลที่จะขอทราบชื่อยาที่ได้รับทุกครั้งเพื่อความปลอดถัยของตัวเอง
#รณรงค์ให้เขียนชื่อยาบนซองยาทุกครั้งหรือใช้ยาแบบแผงที่มีการระบุชื่อยาชัดเจน
#อาการแพ้ยาเป็นเหตุสุดวิสัยแต่ลดความเสี่ยงได้โดยการจำชื่อยาที่ตัวเองเคยแพ้และทราบชื่อยาที่จะได้รับทุกครั้ง
#เข้าร้านยาถามหาเภสัชกรทุกครั้ง
#เรื่องยาต้องถามเภสัชกร
#แสงทองเภสัชหาดใหญ่
อ้างอิง
1. ภาพข่าวจากรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์
2. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์กระทรวงสาธารณสุข
https://dmsic.moph.go.th/index/detail/1037
3. แนวทางการวินิจฉัยผู้ป่วยแพ้ยา โดย พญ.ทิชา ลิ้มสุวรรณ
https://www.rama.mahidol.ac.th/.../Patients%20with%20drug...
ดูข้อมูลเชิงลึกและโฆษณา
โปรโมทโพสต์
ความรู้สึกทั้งหมด
1111