top of page

ลูกเราเป็นสมาธิสั้นหรือเปล่า???



เปิดเทอมได้1 เดือนแล้ว เด็กๆหลายคนเริ่มปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆได้ เด็กๆหลายคนกำลังปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เภสัชเชื่อว่า มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงมีความกังวลใจในหลายเรื่องที่โรงเรียนลูก โดยเฉพาะเด็กที่กำลังขึ้นชั้นประถม1 ซึ่งเป็นวัยเปลี่ยนผ่านจากชั้นอนุบาลมาสู่วัยที่ต้องรับผิดชอบและเรียนหนังสือมากยิ่งขึ้น


นอกจากการให้กำลังใจลูกเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงการปรับตัวนี้ไปได้แล้ว เภสัชอยากให้สังเกตอาการเด็กๆเพิ่มเติมด้วยค่ะ เพราะหลายๆอาการเป็นมาจากโรคที่เรียกว่า โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD) ซึ่งการให้กำลังใจลูก หรือการกินอาหารเสริมที่เคลมว่ารักษาโรคสมาธิสั้นได้นั้น ไม่หายค่ะ ต้องพาไปพบแพทย์ เพื่อปรับพฤติกรรม หรือบางรายจำเป็นต้องทานยาร่วมด้วย


โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่ประกอบด้วยการขาดสมาธิ ควบคุมตนเองต่ำ และซุกซน อยู่ไม่นิ่ง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ขวบ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการปรับตัวเข้าสังคม อาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางรายมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง และ ควบคุมตนเองต่ำ หุนหันพลันแล่น ทำร้ายเพื่อน เป็นอาการหลัก แต่เด็กที่มีอาการเหล่านี้ไม่ได้มีสติปัญญาแตกต่างจาก เด็กทั่วไป

เด็กวัยเรียนทั่วโลกพบว่าเป็นโรคสมาธิสั้นประมาณ 7 % ในประเทศไทย 3-5% ดังนั้น ถ้าในห้องเรียนมีนักเรียนประมาณ 40 – 50 คน ก็น่าจะมีเด็กสมาธิสั้น 1 – 3 คน โรคสมาธิสั้นจึงไม่ใช่โรคไกลตัวแต่อย่างใด


สาเหตุของโรคนี้เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบัน เกิดจากระดับของสารสื่อประสาทในสมอง คือ นอร์อีพิเนฟฟรีน และโดปามีนในสมอง บริเวณผิวสมองส่วนหน้าของสมองส่วนหน้า (พรีฟรอนทอลคอร์เท็กซ์) สไตเอตรัม และนิวเคลียสแอ็กคัมเบ็นส์ของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีน้อยกว่าปกติ


เกณฑ์วินิจฉัยโรคสมาธิสั้นตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต ฉบับล่าสุด (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) จาก Website Pobpad คือ


**ด้านการขาดสมาธิจดจ่อตั้งใจ มีอาการ 6 ข้อขึ้นไปในเด็กถึงวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 16 ปี หรือมีอาการ 5 ข้อขึ้นไป ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป

- มักจะล้มเหลวในการทำงานที่ต้องใช้สมาธิ ต้องใส่ใจรายละเอียด เกิดความผิดพลาดอันเป็นผลมาจากความประมาท ทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือการทำกิจกรรมใด ๆ เสมอ มักมีปัญหาในการจดจ่อตั้งใจทำตามกำหนดการ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมเสมอ - มักไม่สนใจฟังแม้มีคนกำลังคุยด้วยอยู่ข้างหน้า มักไม่ทำอะไรตามขั้นตอน และไม่สามารถทำงานที่โรงเรียน ทำงานบ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เช่น ขาดการมุ่งความสนใจ หรือพยายามหลีกเลี่ยงการทำตามขั้นตอน - มักมีปัญหาในการบริหารจัดการสิ่งที่ต้องทำหรือกิจกรรมที่ต้องทำ - มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือไม่เต็มใจทำตามกำหนดการที่ต้องใช้ความพยายามและความอดทนสูงในช่วงเวลานาน ๆ เช่น งานที่ได้รับมอบหมายที่โรงเรียนและการบ้าน - มักจะลืมสิ่งของจำเป็นในการเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรม เช่น อุปกรณ์ในการเรียน ดินสอ หนังสือ เครื่องมือต่าง ๆ กระเป๋าสตางค์ กุญแจ เอกสาร แว่นตา โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น - ใจลอย วอกแวกง่าย ขาดสมาธิจดจ่อสนใจ - มักลืมสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน

**ด้านการตื่นตัว อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น มีอาการ 6 ข้อขึ้นไปในเด็กถึงวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 16 ปี หรือ มีอาการ 5 ข้อขึ้นไป ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป

- มักอยู่ไม่สุข อยู่ไม่นิ่ง กระดิกมือหรือเท้าตลอด นั่งนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ - มักลุกออกจากที่นั่งในสถานการณ์ที่ไม่ควรลุกออกไป - มักวิ่งไปรอบ ๆ หรือปีนป่ายซุกซนในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก หรือรู้สึกอึดอัดกระสับกระส่ายในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ - มักไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมสันทนาการอย่างเงียบ ๆ ได้ - มักจะตื่นตัวหรือลุกลี้ลุกลนตลอดเวลา - มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด - มักจะพูดตอบสวนคำถาม ไม่รอให้ถามคำถามให้จบก่อน - มักมีปัญหาเกี่ยวกับการรอให้ถึงจังหวะหรือลำดับของตนเอง - มักรบกวนหรือก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่น หรือขัดจังหวะในระหว่างบทสนทนา


ทั้งนี้ ผู้ป่วยสมาธิสั้นสามารถป่วยด้วยอาการด้านการขาดสมาธิจดจ่อตั้งใจ หรือด้านการตื่นตัว อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว หรืออาจป่วยด้วยอาการทั้ง 2 ด้านร่วมกัน โดยอาการดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ขึ้นไป


เด็กที่มีปัญหาหลายข้ออย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดผลเสียในชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้คนรอบข้างไม่ชอบ ถูกผู้ใหญ่ดุบ่อยๆ หรือทำให้ผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควร ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นได้ ซึ่งควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะได้รักษาให้ถูกต้องต่อไป


บทความครั้งต่อไปเราจะมาพูดถึง "สมาธิสั้นเทียม" กันค่ะ

อ้างอิงข้อมูล 1. Website โรงพยาบาลสมิติเวช https://www.samitivejhospitals.com/.../%E0%B9%82%E0%B8.../ 2. Website โรงพยาบาลมนารมย์ https://www.manarom.com/blog/adhd.html... 3. Website Pobpad https://www.pobpad.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8...

 
 

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
การใช้ยาละลายเสมหะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ

#ทำไมไม่ควรซื้อยาละลายเสมหะในอินเตอร์เน็ตกินเอง โดยเฉพาะกรณีเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า2ขวบ หน้าฝน หน้าหนาวมาแล้ว...มีลูกค้าหลายรายมาหายาละลายเ...

 
 

หัวข้อสนทนาที่น่าสนใจ

bottom of page