เนื่องจากพลังรีวิวในโลกโซเชียลทำให้คนมักจะมาตามหาวิตามิน อาหารเสริมกันเยอะมาก โดยเฉพาะในคนไข้โควิดก็มักจะแสวงหาอาหารเสริมเพื่อกินเสริมระหว่างเป็นโควิดเพิ่มเติมนอกเหนือจากยาที่ได้รับ
วันนี้เภสัชขอเอาสรุปการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆระหว่างผู้ป่วยเป็นโควิด (adjunctive therapy) ที่เป็นแนวทางการรักษาโควิดจาก NIH มาฝากค่ะ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สรุปในงานวิจัย มีทั้งวิตามินซี (Vitamin C), วิตามินดี (Vitamin D), สังกะสี(Zinc), เอ็กไคนาเซีย(Echinacea), น้ำมันปลา (Fish oil- Omega3) ผู้เขียนแนวทางการรักษานี้ได้รวบรวมข้อมูลจากหลายๆงานวิจัยมาสรุปไว้
สรุปสั้นๆ #ไม่มีความแตกต่างของผลการรักษาในกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมและกลุ่มที่ไม่ได้รับอาหารเสริมในรูปแบบรับประทาน ทั้งในเรื่อง - ระยะเวลาการป่วย ... กินกับไม่กิน หายพอๆกัน - อาการเจ็บคอ ...กินกับไม่กิน เจ็บคอพอๆกัน - การเข้าแอดมิดในโรงพยาบาล ...กินกับไม่กิน เข้าแอดมิดพอๆกัน - การใช้ท่อช่วยหายใจ ...กินกับไม่กิน ใช้ท่อช่วยหายใจพอๆกัน - ปริมาณการใช้ยา ...กินกับไม่กิน ใช้ยาในการรักษาพอๆกัน
ผู้ที่เขียนแนวทางแนะนำว่า ข้อมูลที่มีในขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะบอกว่า กินดีกว่าไม่กิน
ในความเห็นส่วนตัวของเภสัชเอง #ไม่แนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใดๆในช่วงที่ทำการรักษาโควิด ด้วยเหตุผลคือ - ยาตีกัน โดยเฉพาะยากับวิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ - ตับ และไต ทำงานหนักขึ้นแน่นอน สำหรับผู้ที่เคยเป็นโควิดจะรู้ว่า วันนึงๆต้องกินยาตามอาการจำนวนมากแค่ไหน และยาทุกตัวผ่านตับและไต การใส่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยเฉพาะในช่วงการรักษา อาจจะมีผลต่อการทำงานของตับและไตได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ
#หากอยากจะเสริมตัวใดๆเพิ่มค่อยเสริมกันหลังหายนะคะ #หลายๆครั้งรีวิวในโซเชียลก็มีพลังมากกว่าข้อมูลวิชาการ ...เศร้าแพร๊พพพพ #แสงทองเภสัชหาดใหญ่
ติดตามอ่านบทความเต็มๆได้ตรงนี้ค่ะ ถ้าวิตามิน สมุนไพรตัวใดไม่ได้กล่าวถึงในแนวทางการรักษานี้ เพราะไม่ได้เป็นที่นิยมใช้/ งานวิจัยไม่มากพอที่จะเอามาสรุปค่ะ 1. https://www.covid19treatmentguidelines.nih.gov/.../summa.../ 2. https://ods.od.nih.gov/factsh.../COVID19-HealthProfessional/
NIH คือหน่วยงานอะไร *The National Institutes of Health (NIH), a part of the U.S. Department of Health and Human Services