top of page

โรคที่มากับน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้น่าจะยังอยู่กับเราอีกหลายวันค่ะ เพราะฝนยังไม่มีท่าทีจะหยุดตกง่ายๆ เรื่องที่สำคัญและต้องระวังคือเรื่องโรคที่มากับน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นโรคฉี่หนู น้ำกัดเท้า โรคทางระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร ตาแดง ไข้เลือดออก โรคหัด ไข้มาลาเรีย


เนื่องจากหลายแห่งยังมีน้ำขังอยู่ วันนี้เภสัชเอาโรคน้ำกัดเท้ามาฝากกันก่อนเลยค่ะ จะได้ระวังตัวกัน


โรคน้ำกัดเท้า จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ - ระยะแรก เกิดในช่วง 1-3 วันแรก ผิวมีลักษณะแดง มีอาการ คัน แสบ ระคายเคือง และอาจลอกบางๆ - ระยะที่สอง ช่วง 3-10 วัน ผิวหนังในระยะนี้จะมีอาการแดง บวม ปวดเจ็บ มีหนองหรือน้ำเหลืองซึม ระยะนี้มักจะติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่าเชื้อรา - ระยะสุดท้าย เกิดขึ้นในช่วง 10-20 วัน ถ้าผิวหนังแช่น้ำต่อเนื่อง จะมีลักษณะแดง คัน มีขุยขาว เปียกและเหม็น ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาว เป็นการติดเชื้อรา


สำหรับผู้ที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง 1. ให้ใส่รองเท้าบูทถ้าต้องแช่ในน้ำนานๆ และเมื่อขึ้นจากน้ำให้ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่ เช็ดเท้า ง่ามนิ้วเท้า ให้แห้งอยู่เสมอ

2. ถ้ามีผื่นแดงเล็กน้อยคัน แสบ ทายากลุ่มสเตียรอยด์อ่อนๆ Triamcinolone cream วันละสองครั้งจนผื่นหาย

3. ถ้ามีผื่นและมีรอยเปื่อยฉีกขาดของผิว มีอาการบวมแดง ปวดเจ็บ หรือมีหนอง ซึ่งเป็นอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

4. ถ้าเท้าแช่น้ำนานหลายสัปดาห์ต่อเนื่อง อาจจะทำให้ผิวหนังติดเชื้อราที่ง่ามนิ้วเท้าเกิดเป็นผื่นขุยเปียกขาว ควรใช้ยาทารักษาเชื้อรา เช่น ขี้ผึ้งวิธฟีล (Whitfield’s ointment) หรือโคลไทรมาโซลครีม (Clotrimazole cream)

5. ถ้ามีบาดแผลควรทำแผลและทายาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน (Betadine)

6. คนไข้โรคเบาหวานไม่ควรลุยน้ำ เพราะอาจะเกิดบาดแผลและเป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้


ขอให้พี่น้องที่ประสบอุทกภัยครั้งนี้ปลอดภัย น้ำลดไวๆ ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ



อ้างอิง - กระทรวงสาธารณสุข - สถาบันโรคผิวหนัง

 
 

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
การใช้ยาละลายเสมหะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ

#ทำไมไม่ควรซื้อยาละลายเสมหะในอินเตอร์เน็ตกินเอง โดยเฉพาะกรณีเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า2ขวบ หน้าฝน หน้าหนาวมาแล้ว...มีลูกค้าหลายรายมาหายาละลายเ...

 
 

หัวข้อสนทนาที่น่าสนใจ

bottom of page