โรคมือเท้าปากโรคมือเท้าปาก คืออะไร
- ร้านแสงทองเภสัช
- 16 มิ.ย. 2561
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 23 พ.ค. 2566
โรคมือเท้าปากโรคมือเท้าปาก คืออะไร

โรคมือเท้าปาก (Hand-Food-and-Mouth Disease) เกิดจากเชื้อ enterovirus มีลักษณะเฉพาะ คือ มีตุ่มนํ้าใส (vesicular lesion) ที่ปาก มือและเท้า
โรคมือเท้าปากติดต่อได้ทางใดบ้าง
1. การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากจมูก , ลําคอและนํ้าจากในตุ่มใส
2. อุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ ช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการและจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะ หายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน
***ดังนั้น ถ้าเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก ไม่ควรไปโรงเรียน นาน7-10 วัน เพื่อลดการสัมผัส และโรงเรียนที่มีเด็กติดเชื้อควรปิดห้อง เพื่อทำความสะอาด ของใช้ทุกชนิด และของเล่นในสนามเด็กเล่นด้วยนะคะ***
อาการ
อาการเริ่มต้น คือ มีไข้ตํ่าๆ ประมาณ 38-39 องศาเซลเซียส และมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวระยะนี้จะมีระยะเวลา ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก ตามร่างกายจะพบตุ่ม/เม็ดในบริเวณปาก มือและเท้าได้
ภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปโรคมือเท้า ปาก ส่วนใหญ่มีอาการไข้ครั่นเนื้อครั่นตัวและเจ็บปาก แต่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้โดยเฉพาะจากการติดเชื้อ enterovirus 71 ซึ่งมักพบมากในกลุ่มคนดังนี้ 1. อายุในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยจะพบอาการแทรกซ้อนรุนแรงและเสียชีวิตมากกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมาก 2. มีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส และนานเกิน 3 วัน 3. มีอาการอาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ 1. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท : เริ่มมีอาการประมาณ 2 วันหลังจากมีไข้ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวด ศีรษะ คอแข็ง เดินเซ มือสั่น ชัก อ่อนแรงแขนขา หรือระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะ มีเพียงการรักษาเพียงประคับประคอง 2. ภาวะแทรกซ้อนระบบปอดและหัวใจ ผู้ป่วยจะมีไข้นํามาก่อนประมาณ 3-6 วัน โดยมักไข้สูง หัวใจเต้นเร็วและมักมีอาการทางระบบ ประสาทนํามาก่อน ต่อมามีอาการหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว
สัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เช่น • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

การป้องกันโรคมือเท้าปาก เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปาก สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดี โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคมือเท้าปาก รวมถึงป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดย • หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย • รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด • ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม • เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว • รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ • หากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย
ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น • การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ • การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน • การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ
สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกที่สุด จะต้องหมั่นสังเกตอาการ หากลูกมีอาการป่วยที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที
วิธีการป้องกันโรคนี้ที่สำคัญคือ แยกผู้ป่วยและรักษาสุขอนามัยของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโรคมักระบาดในเด็กเล็ก ซึ่งอยู่ รวมกันในโรงเรียน หรือสถานเลี้ ยงดูเด็ก จึงควรเน้นเรื่องการล้างมือ ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อม เด็กป่วยควรให้อยู่ บ้านไม่ให้มาเล่นกับเด็กคนอื่น บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องปิดโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กชั่วคราว
หากมีการระบาดเกิดขึ้นมาก และงดพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชน เช่นห้างสรรพสินค้า สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น เพื่อลดการกระจายของเชื้อโรค ขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้
เอกสารอ้างอิง 1.โรคมือเท้าปาก (Hand-Foot-and-Mouth-Disease) โดย พญ.ธนิกานต์ คีรีวิเชียร 2.โรคมือ-เท้า-ปาก (Hand-Foot-And-Mouth Disease) และโรคจากเชื้อ Enterovirus 71 ศ. พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ 3. https://www.bumrungrad.com/.../conditions/hand-foot-mouth 4. https://sg.theasianparent.com/foods-eat-hfmd-avoid/