top of page

ไซยาไนด์คืออะไร ?

อัปเดตเมื่อ 7 มิ.ย. 2566



จากข่าวฆาตกรรมพบสารไซยาไนด์ในผู้เสียชีวิต มาทำความรู้จักกับไซยาไนด์ และวิธีดูแลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารไซยาไนด์กันค่ะ


ไซยาไนด์คือสารเคมีที่อันตราย เมื่อรับเข้าร่างกายจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว

ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการ เช่น ระคายเคืองบริเวณสัมผัส ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น


แบ่งได้ 2 แบบ

1. แบบเฉียบพลัน เป็นพิษที่เกิดจากได้รับไซยาไนด์ทันที มักพบได้น้อย อาการคือ หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ

2. แบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับไซยาไนด์น้อยๆแต่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน อาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด


สำหรับบุคลากรทางการแพทย์


สำหรับบุคคลทั่วไป: ข้อมูลจากเพจPobpad

- การสัมผัสทางผิวหนัง หากร่างกายสัมผัสกับไซยาไนด์ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัว จากนั้นจึงทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล

- การสูดดมและรับประทาน หากสูดดมควรออกจากพื้นที่บริเวณนั้น หากไม่สามารถออกจากสถานที่ได้ควรก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

- การสัมผัสทางดวงตา ควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก จากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 นาที และไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ

- ทางการรับประทาน นำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุดพร้อมสารเคมีที่พบ ห้ามผายปอด เพราะอาจทำให้ผู้ทำการปฐมพยาบาลได้รับสารพิษไปด้วย


แสงทองเภสัชหาดใหญ่


ขอบคุณรูปประกอบจากspring news

ข้อมูลจาก

หัวข้อสนทนาที่น่าสนใจ

bottom of page